“อู่ข้าว อู่น้ำ” เมืองไทยที่ขึ้นชื่อว่าในน้ำมีปลาในนามีข้าว :鱼米之乡
สวัสดีค่ะทุกคน วันนี้มาพบกับหัวข้อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับสำนวนกันนะคะ ซึ่งสำนวนในวันนี้ถือได้ว่าเป็นสำนวนที่สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ของเป็นประเทศไทยได้เป็นอย่างดี นั่นก็คือ “อู่ข้าว อู่น้ำ” นั่นเองค่ะ
สำหรับแอดเฟินก็เป็นเด็กน้อยคนหนึ่งที่เติบโตในชุมชนชนบท ฤดูกาลของการทำการเกษตรตามท้องไร่ท้องนา ท้องฟ้าที่เป็นสีฟ้าเข้มกว่าน้ำทะเล ลำน้ำสายยาวที่หล่อเลี้ยงชีวิตคนไปไม่สิ้นสุด สีเขียวขจีแห่งต้นข้าว กุ้งน้อย หอย ปู ปลาที่แหวกว่ายกับสายน้ำที่ไหลไปตามท้องนา รวงข้าวสีทองพลิ้วไหวตามแรงลมเป็นระลอกๆ เป็นภาพความทรงจำที่ยากจะลืมเลือนค่ะ ซึ่งหากจะพูดถึงความงดงามของเรื่องราวแห่งชีวิตในวัยเด็ก สิ่งที่แทนภาพจำทุกอย่างคงจะเป็นภาพของคนที่บ้านและกิจกรรมต่างๆ เราเติบโตมาจากการบ่มเพาะผ่านสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตในชนบทให้เราเข้าใจและสัมผัสได้ถึงความหมายของ “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” ได้อย่างชัดเจน ซึ่งได้หล่อหลอมความคิดและได้เห็นคุณค่าของกสิกรรมว่า นอกจากจะช่วยหล่อเลี้ยงประชากรมนุษย์ให้ได้มีข้าวกิน เป็นแหล่งข้าวแหล่งน้ำของ ยังเป็นงานที่มีศิลปะ มีวัฒนธรรม ภูมิปัญญา รวมถึงมีจิตวิญญาณของความเป็นงานเกษตรกรรมที่มีคุณค่าต่อปากท้องของคนทั้งโลก
เนื่องจากวันนี้เองค่ะเฟินได้อ่านบทสนทนาที่ได้สอนภาษาไทยให้กับคนจีน เลยนึกขึ้นได้ว่าคำว่า “鱼米之乡” ถ้าลองเอามาเปรียบเทียบกันก็น่าจะแปลได้ทั้ง อู่ข้าวอู่น้ำ และในน้ำมีปลาในนามีข้าว ด้วยเช่นกันอันหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ของภูมิประเทศและทรัพยากรต่างๆ ของประเทศตัวเอง ประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ก็ย่อมจะมีวลีหรือสำนวนที่กล่าวถึงความสมบูรณ์เหล่านั้นในประเทศตัวเองด้วย ทั้งประเทศจีนก็มีความอุดมสมบูรณ์ไม่น้อยกว่าประเทศไทยด้วยเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างของช่องติ๊กต๊อกและยูทูป ยกตัวอย่างของ Liziqi ยูทูปเบอร์ชาวจีนผู้ที่ถ่ายทอดความอุดมสมบูรณ์และภูมิปัญญาของสังคมเกษตรกรรมที่ใครได้ดูแล้วก็จะนึกถึงความหมายของในน้ำมีปลาในนามีข้าวที่แสดงให้เห็นว่าประเทศจีนมีทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์มากมาย และจากที่ได้กล่าวมานะคะไม่ว่าจะที่ประเทศไทยหรือจีนต่างก็มีความอุดมสมบูรณ์ไม่แพ้กัน เราลองมาดูความหมายของสำนวนทั้งสองภาษากันนะคะ ว่ามีลักษณะการแปลอย่างไรบ้าง
ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์และคำพูดของชนชาติไทยที่มีกันอย่างยาวนานแล้วคำว่า “ในน้ำมีปลาในนามีข้าว” ใช้ครั้งแรกเมื่อไรนั้นมิอาจทราบได้ แต่หลักฐานหนึ่งที่พบได้และค่อนข้างเป็นประจักษ์นั่นคือ ในสมัยสุโขทัยที่มีการจารึกเรื่องราวในหลักที่ ๑ ด้านที่ ๑ เนื้อหากล่าวถึงเศรษฐกิจของเมืองสุโขทัยความว่า “เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำ มีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลูท่าง เพื่- อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใคร จักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า” (ด้านที่๑ บรรทัดที่ ๑๘-๒๑) ดังนั้นจึงสันนิษฐานว่าคำว่าในน้ำมีปลาในนามีข้าวอาจอาจจะได้มีการใช้มาก่อนหน้าที่ศิลาจารึกจะถูกจารึกขึ้น สำนวนนี้จึงเป็นสำนวนที่ใช้มากันอย่างช้านาน
ที่มาภาพ https://www.slideshare.net/sm037/ss-14338039
ในส่วนของความหมายตามสำนวนไทยในปัจจุบัน ได้อธิบายความหมายของคำว่า .. “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” หมายถึงดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ผู้คนไม่อดอยากปากแห้ง โดยเทียบได้กับในแหล่งน้ำทุกที่มีปลาให้จับเป็นอาหารและในนาก็มีข้าวอุดมสมบูรณ์ คราวนี้เราลองมาดูความหมายของสำนวน 米之乡”
词目 | 鱼米之乡 |
发音 | yú mǐ zhī xiāng |
释义 | 指盛产鱼和稻米的富饶地方。 |
คำศัพท์ที่น่าสนใจ
ทรัพยากร