เมื่อโดน ‘ผี’ ซ้ำ แล้ว ‘ด้ำ’ คือใคร?: 雪上加霜
สวัสดีค่ะผู้อ่านทุกท่าน ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านบทความของทาง 泰中文 เป็นกำลังใจดีดีให้กับทางแอดมินของเราที่อยากสร้างสรรค์บทความให้ทุกคนได้อ่านกัน วันนี้เฟินเปลี่ยนสรรพนามทุกท่านดูเปลี่ยนไปเนื่องจากผู้อ่านของเรามีหลากหลายวัย จึงขออนุญาตเรียกทุกท่านอย่างกลางๆนะคะ เฟินมีเกล็ดความรู้เกี่ยวกับสำนวนไทย-จีนมาฝากกันอีกเช่นเคยค่ะ แต่ทว่าวันนี้ฟินจะเน้นไปที่สำนวนไทยสำนวนหนึ่งที่แปลไม่เหมือนกับภาษาจีนเลยแม้แต่น้อยซึ่งจะต่างออกไปจากทุกครั้งที่ส่วนใหญ่แล้วจะนำความรู้เกี่ยวกับสำนวนไทยที่มาจากภาษาจีนมาใช่่ไหมละคะ สำนวนนี้นั้นเชื่อว่าทุกคนคงเคยได้ยินกันแน่นอน นั่นก็คือสำนวนที่ว่า “ผีซ้ำด้ำพลอย” ขออนุญาตย้ำอีกครั้งนะคะว่า “ผี-ซ้ำ-ด้ำ-พลอย” ไม่ใช่ “ด้าม” นะคะทุกคน ><!!
ก่อนอื่นเลยนะคะเรามาทำความเข้าใจบริบทของความหมายคำว่า “ผีซ้ำด้ำพลอย” ที่ใช้ในภาษาไทยกันก่อนนะคะ โดยคำว่าผีซ้ำด้ำพลอยนั้น จะมีวิธีการใช้อยู่สองความหมายดังต่อไปนี้
๑. เมื่อยามประสบเคราะห์ร้าย แต่ก็มีเหตุการณ์ เรื่องราวที่ทำให้ดูเหมือนเคราะห์ร้ายมากยิ่งขึ้นไปอีก พูดง่ายๆคือ “ซวยซ้ำซวยซ้อน” เช่น ในขณะที่เฟินทำงานอยู่ดีๆไฟก็ดับแล้วลืมเซฟงาน พอเปิดงานมาเท่านั้นแหละค่ะ ไฟล์หายวับไปกับตา แต่ยังค่ะยังไม่พอเมื่อเฟินกำลังเดินไปเอาน้ำอุ่นๆ มาดื่มเพื่อสงบสติอารมณ์จู่ๆ แมวแสนรักของเฟินก็กระโดดใส่โน้ตบุ๊คแล้วทันใดนั้นเอง…. โน้ตบุ๊คก็หล่นอย่างไม่เป็นท่า 5555555 อะไรจะซวยขนาดนี้
๒. เมื่อเกิดเรื่องร้ายๆขึ้น ก็ถูกคนรอบข้าง พากันมาซ้ำเติมให้เจ็บช้ำใจเข้าไปอีก เช่น พอเรื่องไฟล์ไม่ได้เซฟและแมวทำคอมพัง แม่ก็เดินมาบ่นๆๆๆๆๆๆๆ แล้วบอกว่า สมน้ำหน้าทำอะไรไม่รู้จักระวัง ก็รู้อยู่ว่าแมวมันดื้อ เสียเงินเสียทองซ่อมอีก เสียเงินเองนะ แม่ช่วยเธอไม่ได้ #@%^$##@##%$& >!!O!!!< ร้องไห้แน้วววว
( บางครั้งเจ้ากรรมนายเวรก็มาในรูปของแมว )
สำนวนนี้อาจารย์ท่านหนึ่่งที่เคยสอนเฟินตอนที่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย (เฟินเรียนเอกภาษาไทยนะคะ ) ท่านได้อธิบายอย่างนี้ค่ะว่า คำว่า “ด้ำ” นั้น เป็นภาษาไทยแท้ๆ แต่ปัจจุบันในภาษาไทยกลางที่สื่อสารกันตามปกติ คนไม่ได้ใช้คำนี้เหมือนในอดีตแล้ว คำนี้ยังคงปรากฏการใช้เรียกขานอยู่ในบางถิ่น เช่น ถิ่นอีสาน โดยคำว่า ด้ำ ก็คือ ผีบรรพบุรุษ หรือบางถิ่นให้ความหมายถึง ผีบ้านผีเรือนนั่นเองค่ะ เวลาที่เกิดเรื่องอะไรร้ายๆขึน เรามักจะโทษว่าผีน่าจะเป็นผู้บันดาลและลงโทษให้เกิดสิ่งเหล่านั้นขึ้น จึงกล่าวว่า “ผีซ้ำ” อันหมายถึงผีซ้ำเติม และ “ด้ำ” ซึ่่งหมายถึงผีบ้านผีเรือน โดยปกติแล้ว ผีบ้านผีเรือน ผีบรรพบุรษจะต้องปกปักษ์รักษาคุ้มครองให้พ้นจากสิ่งชั่วร้ายใช่ไหมคะ แต่แล้วท่านไม่เมตตาค่ะ ท่านบอกว่า “เออ เอามันป่านนี่โลด (เอาให้มันหนักๆไปเลย)” (เฟินพูดค่ะ ท่านผีบรรพบุรุษไม่ได้พูด ><) ไม่รู้ว่าไปทำอะไรให้ท่านทั้งหลายไม่พอใจนะคะ ทั้งผีก็ซ้ำ ทั้งด้ำก็พลอยอีกด้วย ทำไมคุณผีทั้งหลายจึงไม่ใจดีกับเราเลยคะ !!
นอกจากนี้แล้วเฟินก็มีสำนวนในบริบทที่ใกล้เคียงกันกับผีซ้ำด้ำพลอย ของภาษาจีน นั่นก็คือคำว่า “雪上加霜” /xuěshàng-jiāshuāng/ ทุกท่านสังเกตเห็นตัวอะไรไหมคะ นั่นก็คือตัว 雨 ที่มีความหมายถึงฝนที่ตกลงมานั่นเองค่ะ ซึ่ง 雪 xuě เสวี่ย คือ หิมะ และ 霜 shuāng ซวาง หมายถึงน้ำค้างแข็งๆ คือการโดนฟรีซค่ะ
雪上加霜
/xuěshàng-jiāshuāng/比喻在一次灾祸以后,接连又遭受新的灾祸,使损害愈加严重。


